วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ผลและชนิดของผล

การเกิดผล
หลังการปฎิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันจะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด (seed) รังไข่จะเจริญไปเป็น ผล (fruit) มีผลบางชนิดที่เจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล เจริญมาจากฐานรองดอก เรียกว่า ผลเทียม (pseudocarp)
ชนิดของผล ขึ้นอยู่กับจำนวนดอกและจำนวนรังไข่ในแต่ละดอก แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. ผลเดี่ยว (simple fruit) คือ ผลที่เกิดมาจากรังไข่อันเดียวในดอกเดียวกัน อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อก็ได้ ถ้าดอกช่อรังไข่ของแต่ละดอกต้องไม่หลอมรวมกัน เช่น ผลส้ม มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงชนิดต่างๆ เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกเดี่ยว ส่วนผลเดี่ยวที่เกิดมาจากดอกช่อ
ได้แก่ ผลมะม่วง มะปราง มะกอก มะพร้าว ทุเรียน ลำไย เป็นต้น

2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่หรือกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอกเดี่ยว รังไข่แต่ละอันจะกลายเป็นผลย่อยหนึ่งผล โดยลักษณะของดอกที่จะกลายเป็นผลกลุ่มนั้น จะเป็นดอก 1 ดอกและมีรังไข่หลายอัน พืชบางชนิดผนังรังไข่แต่ละอันอยู่อัดกันแน่นมากจนผนังเชื่อมรวมกัน ดูคล้ายกับเป็นผลเดี่ยว เช่น ผลน้อยหน่า สตรอเบอรี บางชนิดผนังรังไข่ไม่อยู่อัดกันแน่น จึงมีผลเล็ก ๆ แยกกัน เช่น ผลกระดังงา การะเวก นมแมว จำปี จำปา เป็นต้น

3. ผลรวม ( multiple fruit) คือผลที่เกิดจากรังไข่ของดอกแต่ละดอกของดอกช่อซึ่งเชื่อมรวมกันแน่น รังไข่เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อยๆ เชื่อมรวมกันแน่นจนคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น ผลสัปปะรด ขนุน สาเก ยอ หม่อน มะเดื่อ เป็นต้น

2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่หรือกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอกเดี่ยว รังไข่แต่ละอันจะกลายเป็นผลย่อยหนึ่งผล โดยลักษณะของดอกที่จะกลายเป็นผลกลุ่มนั้น จะเป็นดอก 1 ดอกและมีรังไข่หลายอัน พืชบางชนิดผนังรังไข่แต่ละอันอยู่อัดกันแน่นมากจนผนังเชื่อมรวมกัน ดูคล้ายกับเป็นผลเดี่ยว เช่น ผลน้อยหน่า สตรอเบอรี บางชนิดผนังรังไข่ไม่อยู่อัดกันแน่น จึงมีผลเล็ก ๆ แยกกัน เช่น ผลกระดังงา การะเวก นมแมว จำปี จำปา เป็นต้น

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์






โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ถึงแม้จะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและการทำหน้าที่ของเซลล์ แต่ก็มีโครงสร้างพื้นฐานหรือส่วนประกอบที่สำคัญภายในเซลล์คล้ายคลึงกัน ดังภาพ


โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่คล้ายกัน คือประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์
2. ไซโทพลาซึม นิวเคลียส


ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ผนังเซลล์ และเยื่อหุ้มเซลล์


1. ผนังเซลล์ (cell wall) เป็นผนังแข็งแรงอยู่ชั้นนอกสุด มีลักษณะเป็นรูพรุนยอมให้สารผ่านเข้าออกได้สะดวก ประกอบขึ้นจากสารเซลลูโลส (cellulose) เป็นสำคัญ ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานนับปี แม้ว่าเซลล์อาจตายไปแล้วก็ตาม และถ้านำเซลล์พืชแก่ ๆ ไปแช่ในน้ำกลั่น เซลล์ก็จะไม่แตก เพราะผนังเซลล์มีแรงต้านสูง ส่วนเซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน ( glycoprotein) เซลล์ของพวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวกซิลิกา สารเคลือบเหล่นนี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้


2. เยื่อหุ้มเซลล์ ( cell membrane หรือ plasma membrane) อยู่ถัดจากนังเซลล์เข้ามา มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ เหนียว ประกอบด้วยสารประเภทจึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งสารขนาดเล็กผ่านได้ ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้เป็นตัวควบคุมปริมาณและชนิดของสารบางอย่างเช่น อาหาร อากาศ และสารละลายเกลือแร่ต่างๆ และยังแสดงขอบเขตของเซลล์และห่อหุ้มส่วนประกอบในเซลล์


ไซโทรพลาซึม (cytoplasm)


ไซโทพลาซึม ประกอบด้วยของเหลวซึ่งเป็นสารประกอบหลายชนิดรวมทั้งอวัยวะของเซลล์หรื์ อออร์แกเนลล(organelle) ต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่


- ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) มีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ATP ให้แก่เซลล์ (การหายใจของเซลล์) พบมากในเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท และเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งขับถ่าย


- ไลโซโซม ( lysosomes) มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ ภายในมีเอนไซม์สำหรับย่อยสารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน ฟอสโฟไลพิด และสิ่งที่เซลล์ไม่ต้องกัน


- ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม (endoplasmic reticulum) ทำหน้าที่ขนส่งลำเลียงสิ่งต่าง ๆ ภายในเซลล์ไปยังเซลล์ข้างเคียง


- กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex) หรือกอจิบอดี (golgi bodies) ทำหน้าที่สะสมโปรตีนเพื่ออัดแน่นส่งออกนอกเซลล์


- คลอโรพลาสต์ (chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืช ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากเป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll)


- ไรโบโซม( ribosome) ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนในเซลล์


- เซนทริโอล (centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ ทำหน้าที่ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเคลื่อนที่ของโครโมโซมของสัตว์


- แวคิวโอล (vacuole) พบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ทำหน้าที่เก็บอาหารของเสีย และเป็นที่พักอาหารก่อนเข้าสู่ไซโทพลาซึม


นิวเคลียส (nucleus)


นิวเคลียส เป็นส่วนที่สำคัญของเซลล์ โดยทั่วไปเซลล์จะมี 1 นิวเคลียสยกเว้นในเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์พารามีเซียมมี 2 นิวเคลียส เป็นต้น นิวเคลียสเป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เด่นชัดมากอาจจะอยู่ตรงกลางเซลล์ หรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ นิวเคลียสประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ส่วน คือ


1 เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อหุ้ม


2 ชั้น มีรูอยู่มากมายที่เรียกว่า นิวเคลียร์พอร์ (nuclear pores) ทำหน้าที่เป็นทางติดต่อกับร่างแหเอนโดพลาซึม เพื่อแลกเปลี่ยนสารระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาซึม